รู้หรือยัง? อุบัติเหตุฉุกเฉิน รักษาฟรี! 72 ชม.ทุกโรงพยาบาล-อ่านแล้วแชร์ต่อ

10:24 PM

รู้หรือยัง? อุบัติเหตุฉุกเฉิน รักษาฟรี! 72 ชม.ทุกโรงพยาบาล-อ่านแล้วแชร์ต่อ





สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้ตั้งอนุกรรมการฯ ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติให้ได้รักษาฟรีตามนโยบาย“เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์” โดยย้ำว่าอุบัติเหตุฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมงรับรักษาฟรีทุกโรงพยาบาล พร้อมแนะดาวโหลดแอพพลิเคชั่น EMS1669″


เพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นเท่าตัว จึงได้มีประสานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ สายด่วน 1669 ให้พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

แล้วในส่วนของปีนี้จึงได้เพิ่มการแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านแอพลิเคชั่น EMS1669 เพื่อให้การแจ้งเหตุแม่นยำ และไปช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้รวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้เพิ่มผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินเป็น 2 เท่า

โดยเฉพาะจังหวัดใหญ่ๆ และจังหวัดที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูง โดยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติเข้ารับการรักษาได้ในทุกโรงพยาบาลฟรี ในช่วง 72 ชั่วโมงแรก

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัย สพฉ.จะเป็นหน่วยงานกลางคอยให้คำปรึกษา และให้ความเห็นภายใน 15 นาที ส่วนกรณีที่หลายโรงพยาบาลมีข้อขัดแย้งเรื่องการรับรักษาประชาชนเนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤตินั้น

สพฉ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินไว้ในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแล้ว  โดยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ

บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน  ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0-4 นาที


หลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดง 25 กลุ่มอาการ ดังนี้

1. ปวดท้องบริเวณหลัง เชิงกราน และขาหนีบ
2. แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สัตว์ต่อย แอนาฟิแล็กซิส ปฏิกิริยาภูมิแพ้  
3. สัตว์กัด
4. เลือดออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ      
5. หายใจลำบาก หายใจติดขัด
6. หัวใจหยุดเต้น    
7. เจ็บแน่นทรวงอก หัวใจ มีปัญหาทางด้านหัวใจ      
8. สำลัก อุดกั้นทางเดินหายใจ
9. เบาหวาน          
10. ภาวะฉุกเฉินเหตุสิ่งแวดล้อม
11. ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกทางตา หู คอ จมูก          
12. คลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท อารมณ์
13. พิษ รับยาเกินขนาด
14. มีครรภ์ คลอด นรีเวช
15. ชัก มีสัญญาณบอกเหตุการณ์ชัก
16. ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุจำเพาะ
17.อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความรู้สึก ยืนหรือเดินไม่ได้เฉียบพลัน
18. ไม่รู้สติ ไม่ตอบสนอง หมดสติชั่ววูบ
19. เด็ก กุมารเวช
20.ถูกทำร้าย
21.ไหม้ ลวกเหตุความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าช็อต
22. ตกน้ำ จมน้ำ บาดเจ็บทางน้ำ
23. พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ เจ็บปวด
24. อุบัติเหตุยานยนต์
25. และอื่นๆ

และสำหรับอาการที่สามารถเข้ารับสิทธิรักษาฟรีได้จะต้องมีอาการดังนี้

1.หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
2.การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
3.ระบบหายใจมีอาการดังนี้  ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ
4.ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น
5.อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
6.อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรงแขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด  หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก
http://www.share-si.com/2016/05/72.html

Artikel Terkait

Previous
Next Post »